อันลักษณ์ลำพูน

ลำพูนสำหรับพวกเราคือเมืองน่าอยู่

12 สิ่งบอกเล่าชีวิตผู้คนและความน่าอยู่ของลำพูน เมืองเล็กๆ ที่ใครๆ ก็อยากย้ายมาอยู่, ที่เที่ยวลำพูน
12 สิ่งบอกเล่าชีวิตผู้คนและความน่าอยู่ของลำพูน เมืองเล็กๆ ที่ใครๆ ก็อยากย้ายมาอยู่, ที่เที่ยวลำพูน

เมืองที่ความเก่าและความใหม่อยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว ด้วยความที่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว จึงทำให้สถานที่ต่างๆ ในจังหวัดลำพูนไม่ได้สร้างขึ้นอย่างผิวเผินเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า แต่ทำเพื่อคนลำพูนโดยเฉพาะ วัฒนธรรม ประเพณี และเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงชัดเจนกว่าจังหวัดใหญ่ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ในขณะที่ความสนิทสนมกลมเกลียวของผู้คน ก็ดึงดูดให้คนต่างถิ่นจำนวนมากตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาใช้ชีวิตที่นี่

ลำพูน ชื่อเดิมคือนครหริภุญไชย มีปฐมกษัตรีเป็นพระนางจามเทวีจากเมืองละโว้ ในสมัยนั้นนครหริภุญไชยรุ่งเรืองมาก มีความศรัทธาในพุทธศาสนา มีภาษาของตัวเอง และมีชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ แต่ที่โดดเด่นที่สุดและเป็นบรรพบุรุษของชาวลำพูนในปัจจุบัน คือไทยอง ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมสำคัญที่ยังสืบทอดมาถึงทุกวันนี้ อย่างประเพณีสลากย้อม สำเนียงภาษา และสถาปัตยกรรมบ้านเรือน 

12 สิ่งบอกเล่าชีวิตผู้คนและความน่าอยู่ของลำพูน เมืองเล็กๆ ที่ใครๆ ก็อยากย้ายมาอยู่, ที่เที่ยวลำพูน
12 สิ่งบอกเล่าชีวิตผู้คนและความน่าอยู่ของลำพูน เมืองเล็กๆ ที่ใครๆ ก็อยากย้ายมาอยู่, ที่เที่ยวลำพูน

ลำพูนในวันนี้ขับเคลื่อนโดยผู้คน ทั้งคนรุ่นเก่าที่ใช้ชีวิตด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิม และคนรุ่นใหม่ที่น้อมรับสิ่งเหล่านั้นมาต่อยอด พร้อมพัฒนาให้ดีเหมาะสมกับยุคสมัยยิ่งขึ้น เราจึงเห็นเทศกาลที่จัดขึ้นโดยคนหลายวัย คาเฟ่ที่เป็นที่นัดพบคนเจ๋งหลายรุ่น แผนการใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบคมนาคมดั้งเดิม หรือภาพหนุ่มสาวเดินเที่ยวงานสลากย้อมในวัดพระธาตุหริภุญไชย

จากการลองใช้ชีวิตช่วงสั้นๆ ในเมืองแห่งนี้ ได้เจอผู้คนมากมายทั้ง พี่เอก อาจารย์จุล ป้าไล น้องฟลุ๊ก ลุงขี่สามล้อ พี่ทอง คุณมิ้น ดร.เพ็ญ พี่สิงห์ พี่เนา พี่แพรว และพี่โอ๊ด ที่เป็นทั้งคนลำพูนโดยกำเนิดและคนลำพูนเพราะใจรัก พบความน่าสนใจของเมืองลำพูนหลายอย่าง มากเกินกว่าจะบันทึกในบทความบทเดียว

เราจึงขอเลือก 12 สิ่งที่แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนลำพูนทั้งในด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประเพณี อาหาร และเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอความน่าอยู่ของเมืองนี้ ที่ทำให้คนในพื้นที่เลือกที่จะอยู่บ้านและคนต่างถิ่นย้ายเข้ามา 

และที่เขาบอกว่าลำพูนเป็นเมืองทางผ่านเห็นจะไม่ผิด เพราะเราต้องการเวลามากกว่าหลักชั่วโมงในการทำความรู้จักลำพูน และคนลำพูนที่ทำให้เมืองนี้น่าอยู่อย่างแท้จริง

01 

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร, CEA, ลำพูน

“ตีดังเท่าไหร่ บารมีเราดังเท่านั้น ตีตอนเช้าช่วงชัชวาลย์ ถ้าตีตอนเย็นจะตกไปตามการเวลา” คือคำแนะนำการตีกังสดาลของป้าไล ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดลำพูน ส่วนกังสดาลคือเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะหรือทองเหลือง ตั้งอยู่ในหอระฆังทางตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ที่คนท้องถิ่นเชื่อว่า ถ้าตีตอนเช้าจะโชคดี ยิ่งตีดังยิ่งดีขึ้น

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร, CEA, ลำพูน, ที่เที่ยวลำพูน

วัดพระธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1651 ทางเข้าเป็นซุ้มประตูงานศิลปะโบราณสมัยศรีวิชัย เดิมเคยเป็นพระราชวังของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัยองค์ที่ 33 รายล้อมด้วยถนนเส้นสำคัญทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าวัดติดถนนรอบเมืองใน ด้านหลังวัดติดถนนสายสำคัญอย่างอินทยงยศ เพราะเป็นสถานที่คู่เมืองลำพูนมานานกว่าพันปี และมีตำแหน่งที่ตั้งใจกลางเมือง 

วัดพระธาตุหริภุญชัยจึงกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองลำพูน เป็นสถานที่นัดพบหรือจัดงานประเพณีสำคัญประจำปี อย่างสลากย้อมและเทศกาลโคมแสนดวง ที่เราจะเห็นครอบครัว ผู้สูงอายุ เด็ก และคนหนุ่มสาว มาใช้เวลาร่วมกัน

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร, CEA, ลำพูน, ที่เที่ยวลำพูน
วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร, CEA, ลำพูน, ที่เที่ยวลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นวัดประจำปีระกา ตามความเชื่อของชาวล้านนาโบราณเรื่องการไหว้พระประจำปีเกิด ที่เป็นทั้งบุญกุศลและทำให้คนได้เดินทางไปมาหาสู่ระหว่างพื้นที่ ป้าไลยังบอกอีกว่า ถ้าจะไปทำบุญให้เดินเข้าทางประตูหน้าวัด และต้องเป็นประตูใหญ่ตรงกลางที่มีรูปปั้นสิงห์คู่ขนาดใหญ่ตั้งอยู่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นางสาวยุพิน ลุงอย่าง